top of page
ค้นหา

คุณมีเหตุผลอยู่กี่ดอลลาร์-book review,lesson learned

รูปภาพนักเขียน: don't skip your breakfast pleasedon't skip your breakfast please

อัปเดตเมื่อ 11 ส.ค. 2564

หนังสือที่เหมือนตบหน้า first (second จริงๆแล้ว) jobber หรือจริงๆ

แล้วก็ทุกคนนั้นแหละ แบบบรรทัด เว้นบรรทัด




บางประโยคที่ชอบจากปกหลัง(เอาจริงคือซื้อเพราะอ่านปกหลัง)

-ทำไมเราถึงตาลุกวาวเมื่อเจอโปรโมชั่น 1 แถม 1 ทั้งที่สุดท้ายเอามากองทิ้งไว้ที่บ้าน(ครั้งที่เท่าไรก็ไม่รู้)

-ผู้เขียนจะพาคุณออกสำรวจโลกการใช้เงินอันไร้เหตุผลของมนุษย์เรา

(ทั้งๆที่มันควรจะเป็นเรื่องที่ต้องมีเหตุผลมากกที่สุด)


ความเห็นเมื่อต้องอ่านอีกรอบเพื่อรีวิว

สำหรับเราหนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับการอ่านประมาณ 2 รอบ เพราะอ่านรอบแรกเหมือนอ่านเอาสนุก เจ็บๆคันๆ จากการจิกกัดพฤติกรรมการใช้เงินประหลาดๆ และพลาดๆ ของตัวเอง เช่น

- ทำไมต้องซื้อกาแฟแพง,ทำไมพอรูดบัตรแล้วใช้เงินบานตะไท,

- ตั้งใจจะมาซื้อของอย่างนึง แต่เดินออกจากร้านด้วยของอีกอย่างที่แพงกว่า หรือได้ของที่จริง ๆ ก็ไม่ได้คิดว่าจะซื้อ โดยมาปลอบใจตัวเองว่า สิ่งที่เราซื้อ มันคุ้มค่าแล้ว มันเกิดอะไรขึ้น ?



โดยหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 พาร์ท ใหญ่ๆ

ส่วนแรท เงินคืออะไร

ส่วนสอง เราประเมินมูลค่าในแบบที่ไม่สัมพันธ์กับมูลค่าที่แท้จริงได้อย่างไร

ส่วนสาม แล้วยังไงต่อ? ใช้การคิดที่บกพร่องเป็นบทเรียน

โดยเราอยากยกตัวอย่างบางบทของส่วนที่ 2 ที่พูดถึงสาเหตุของพฤติกรรมการใช้เงินแปลกๆ

ของเราว่ามันเกิดจากอะไร(ได้บ้าง)


1.เราเปรียบเทียบมูลค่า เอาง่ายๆ ถ้ามีเสื้อยืดสีขาวธรรมดาๆ 2 ตัว แปะป้ายราคา 299 บาท กับอีกตัว ราคาเท่ากันแต่เพิ่มป้ายว่าลดราคาจาก 599 บาท(ซึ่งลดจริงไหม.... ปริศนาธรรม) มันทำให้เห็นถึงราคาที่ประหยัดได้ ว้าว! คุ้มค่าเหลือเกินถ้าซื้อเสื้อตัวนี้ ณ ตอนนี้


ซึ่งความจริงแล้ว การเปรียบเทียบตามหลักเหตุและผลที่ถูกต้องเราควรเปรียบเทียบที่ตัวเงิน 299 บาทว่ามันใช้ทำอะไรได้บ้าง(ใช่มันคือต้นทุนค่าเสียโอกาสนั้นแหละค่ะ) เช่น เราจะกินข้าวได้ 4 มื้อเลยนะ นั่งแท็กซี่ไปกลับที่ทำงานได้ 2 วัน หรือเปรียบเทียบกับกับมูลค่า 0 บาทก็ได้เมื่อเราไม่ซื้อมัน(อันนี้ดีนะ ไม่เคยคิดมุมนี้มาก่อนเลย ปกติเจอของลดราคาเผลอเทียบกับราคาก่อนลดตลอด)


2.เราแบ่งแยกหมวดหมู่

มนุษย์เงินเดือนอย่างดิฉัน เมื่อเงินเดือนออก ก็จะแบ่งเงินออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ เช่น เงินค่ากินประจำวัน เงินค่าคอนโด เงินกินกาแฟ เงินค่าของขวัญ เงินกินกาแฟ(แก้วที่สอง) ฯลฯ ใช่เราแบ่งหมวดหมู่ และเราก็ดันคิดว่าเรานี่ช่างชาญฉลาด รอบคอบ รัดกุม มัธยสถ์ ในการใช้เงินอะไรแบบนี้…


แล้วมันพลาดตรงไหนล่ะ?


นั้นแหละหล่อน!ติดกับดับแล้ว! เช่น สมมติ(เรื่องจริง) ดิฉันเก็บเงินเพื่อกินกาแฟ(แก้วที่สอง)ไว้ที่ 1,000 บาท ซึ่งวันหนึ่งผ่านร้านกาแฟที่ร้านสวยมากจนหน้ามืดเดินเข้าไปสั่งกาแฟราคาแก้วละ 150 บาท แน่นอนว่าต้องมีแซนวิชสักชุดที่ราคาไม่หนีกันติดมือมาด้วย(ก็มันเที่ยงแล้วอะ!) สนนราคารวมเกือบครึ่ง 500 (มากกว่าราคาค่าอาหารที่กินทั้งวันในวันปกติ) แต่ก็ไม่ได้รู้สึกเสียดายเพราะอะไร เพราะมันเป็นเงินในส่วนที่ถูกกันไว้เพื่อกาแฟแก้วที่สองอยู่แล้ว โดยที่ลืมไปเต็มๆ แต่มันก็ยังเป็นเงินนั้น

เงินจากกระเป๋าเงินของคุณ คุณนั้นแหละ! อยู่ดี (อันนี้ก็ไม่เคยคิดในมุมนี้มาก่อนเหมือนกัน)

ดังนั้นสิ่งที่หนังสือเล่มนี้ต้องการจะบอกก็คืออย่าใช้เงินเกินตัว

ต่อให้มันเป็นเงินที่กันมาสำหรับส่วนนี้แล้วก็ตาม เพราะอะไรหนะเหรอ?


ขอเล่าเรื่องสมมติ(เรื่องจริง)อีกเรื่องล่ะ


ถ้าเราใช้เงินหมวดกาแฟแก้วที่สองของวันหมดแล้ว และดั๊นไปเจอร้านกาแฟที่เมล็ดกาแฟนำเข้าจากเม็กซิโกที่ถูกผลิตโดยชาวพื้นเมืองที่ปลูกต้นกาแฟมาตั้งแต่ยุคอารยธรรมไทกริส-ยูเฟรตีส(มั่วทั้งหมด) ทั้งร้านกาแฟตกแต่งสไตล์loft เราก็คงจะไม่อยากพลาดกาแฟในร้านนั้นใช่ไหม?

คำถามคือ เอ...เงินที่ซื้อกาแฟแก้วนี้จะไปอยู่ในส่วนไหนน้า… ไม่พูดดีกว่า


3. เราหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด


สิ่งประดิษฐ์อันยอดเยี่ยมที่สาวน้อยวัย 24 อย่างดิฉันเพิ่งจะได้สัมผัสเมื่อไม่นานมานี้คือ บัตรเครดิต (มันทำให้ดิฉันใช้เงินได้แบบ...อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน)


บัตรเครดิตทำอะไรกับเรา?


ในที่นี้เราขอเรียกปรากฏการณ์ที่บัตรเครดิตสร้างให้เราก่อน เราขอเรียกมันว่า “ความคลุมเครือ” แล้วกันค่ะ สมมติว่า(เรื่องจริง) เราเสียเงินซื้อรองเท้าราคา 1,990 บาท(แน่นอนว่าไม่ได้แพลนมาก่อนเลยว่าเราต้องใช้มันจนถึงเวลาที่เราต้องใช้มันจริงๆ)

คำถามคือ เรารู้สึกว่าเราจ่ายเงินนั้นอยู่หรือเปล่า? ก็ ก็ไม่เชิงนะ ก็แค่เซ็นชื่อเอง

แน่นอนในทำนองเดียวกันถ้าวันชำระเงินมาถึง เรารู้สึกว่าเราจ่ายเงิน ณ ตอนนั้นเลยไหม ก็..ก็ไม่นะ เพราะรู้สึกว่าจ่ายเงินที่ร้านรองเท้าไปแล้ว (อย่างน้อยก็เซ็นสัญญาไว้ว่าไม่ว่ายังไง ฉันจะต้องหา 1,990 บาทมา ให้ได้!)


แล้วมันเกิดอะไรขึ้น?


บริษัทบัตรเครดิตแสนฉลาดได้ใช้ภาพลวงตาของการโยกย้ายเวลาเพื่อลดความเจ็บปวดในการใช้เงินถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกคือทำให้เรารู้สึกเหมือนจ่ายเงินทีหลัง และอีกครั้งด้วยการทำให้เรารู้สึกเหมือนจ่ายเงินไปแล้ว และนั้น ทำให้เราสนุกสนานกับการใช้เงินมากขึ้น และมากขึ้นไปอีก TT

ข่าวดี แล้วเราจะรับมือกับมันได้อย่างไร ?

จริง ๆ มีหลายตัวอย่างมากที่หนังสือเล่มนี้เอาไปประยุกต์ใช้ได้ (อย่างน้อยก็ทำให้ฉุกคิดแต่ละครั้งในการใช้เงิน ได้มากขึ้น)


1.เวลาเจอของลดราคา

เราไม่ควรคิดว่าเราประหยัดได้ 300 บาท แต่ควรคิดว่าเราต้องเสียเงินไป 299 บาททันทีเพื่อคุณซื้อ ซึ่งของนั้นเป็นของที่คุณอยากได้จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้) และที่สำคัญอย่าลืมว่า คุณไม่เคยได้รับเงิน 300 บาท ที่ประหยัดไปนั้นคืนจริง ๆนะ (จริง ๆ หนังสือเล่มนี้อีกไม่นานอาจไปอยู่ใน “1 ใน 100 หนังสือห้ามให้ลูกค้าอ่าน” ของbusiness school ที่ไหนสักที่


2.แล้วบัตรเครดิตล่ะ

ลองปล่อยให้ตัวเองได้สัมผัสกับความเจ็บปวดในการใช้เงินดู (อย่างที่ดิฉันกำลังทำอยู่ ย่างวันที่ 4 แล้วค่ะ) แล้วคุณอาจพบว่าอะไรที่คุณต้องการและจำเป็นกับชีวิตคุณจริงๆ


ท้ายนี้ มันไม่ง่ายเลยที่เราจะประคองสติในการใช้เงินให้น้อยลง ในสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เราใช้เงินมากขึ้น แต่อย่างน้อยก็อยากให้ฉุกคิดสักนิดก่อนจ่าย หรืออย่างน้อยก็ชะลอการใช้เงินไปก่อน มันอาจทำให้ตัดสินใจได้ดีมากยิ่งขึ้นก็ได้



ดู 11 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comentários


โพสต์: Blog2_Post

Subscribe Form

Thanks for submitting!

©2021 by Miss Americano. Proudly created with Wix.com

bottom of page